
คำว่า ALS ย่อมาจาก Amyotrophic Lateral Selerosis กล้ามเนื้ออ่อนแรงไม่ใช่โรคของกล้ามเนื้อโดยตรง แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง แล้วส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงเนื่องจากขาดเซลล์ประสาทนำคำสั่งมาควบคุม ซึ่งเซลล์เหล่านี้มีอยู่ในไขสันหลังและสมอง โดยที่เซลล์ประสาท นำคำสั่งเหล่านี้ค่อยๆเกิดการเสื่อมและตายไปในที่สุด และเนื่องจากโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแลเอสเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ประสาทนำคำสั่ง จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “โรคเซลล์ประสาทนำคำสั่งเสื่อม” ในประเทศสหรัฐอเมริกา จะรู้จักชื่อนี้ในชื่อของโรคลู-เก-ริก ซึ่งตั้งตามชื่อนักเบสบอลที่มีชื่อเสียงที่เป็นโรคนี้ในปี คศ.1930
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอแอลเอส
ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่าเหตุใดเซลล์ประสาทนำคำสั่งจึงเกิดการเสื่อมโดยสมมุติฐาน เชื่อว่าโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง เอแอลเอส เกิดจากหลายสาเหตุปัจจัยก่อให้เกิดโรคร่วมกันได้แก่ การมีปัจจัยบางอย่างทางพันธุกรรมซึ่งยังไม่ทราบแน่ชัด ที่ทำให้เซลล์ประสาทนำคำสั่งมีโอกาสเสื่อมได้ง่ายกว่าบุคคลอื่น มีปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่มีการปนเปื้อนของสารพิษ เช่นยาฆ่าแมลง สารโลหะหนัก รังสีหรือการติดเชื้อไวรัสบางชนิด มากระตุ้นส่งเสริมให้เซลล์ประสาทนำคำสั่งเกิดการทำงานผิดปกติร่วมกับ อายุที่สูงขึ้นตามกาลเวลา ทำให้เกิดการเสื่อมสลายของเซลล์ อันเนื่องมาจากแบตเตอรี่ที่คอยสร้างพลังงานให้กับเซลล์ที่เรียกว่า ไมโตคอนเดรีย(mitochindria)มีความผิดปกติ แต่สมมุติฐานเหล่านนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์ที่แน่ชัด
อาการและการกำเนินของโรคเอแอลเอส เป็นอย่างไร ?
เริ่มต้นผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของมือ แขน ขา หรือเท้าข้างใดข้างหนึ่งก่อน เช่นยกแขนไม่ขึ้นเหนือศรีษะ กำมือถือของไม่ได้ ข้อมมือตกหรือข้อเท้าตก เดินแล้วหกล้มบ่อยหรือสะดุดบ่อย ขึ้นบันไดลำบาก ลุกนั่งลำบาก เป็นต้น อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะค่อยๆเป็นมากขึ้นจนลามไปทั้ง2 ข้างตั้งแต่ตั้น นอกจากอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแล้ว ยังพบว่ามีกล้ามเนื้อลีบร่วมกับกล้ามเนื้อเต้นร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมาพบแพทย์ครั้งแรกด้วยมือลีบขาลีบ พูดไม่ชัด พูดเหมือนลิ้นแข็ง ลิ้นลีบ เวลากลืนนํ้าหรืออาหารจะสำลัก
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่ทานได้คือ
*เครื่องดื่มสตาร์ไลฟ์ 111 หรือ เครื่องดื่มสตาร์ไลฟ์ 999 อย่างใดก็ได้ครั้งละ 30 cc เช้า-เย็น
*ยาบรรเทาปวดเมื่อย ครั้งละครึ่งขวด เช้า-เย็น
*ยาหอมนํ้า ครั้งละครี่งขวด เช้า-เย็น