
โรคหอบหืด เป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากหลอดลมของผู้ป่วยตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้น มากกว่าภาวะปกติ ทำให้หลอดลมของผู้ป่วยหดเกร็งมีขนาดตีบแคบลง และมีอาการบวม เนื่องจากมีการอักเสบ รวมทั้งมีการสร้างเสมหะมากกว่าปกติ
อาการจับหืด คือมีอาการหอบไอ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หายใจถี่ หายใจขัด เสียงหายใจมีเสียงดังหวีด อาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเป็นๆหายๆและเรื้อรัง
อาการจับหืดมักเป็นในตอนกลางคืน หรือเมื่อมีการสัมผัสกับสิ่งที่แพ้หรือระคายเคือง
1.พันธุกรรม โรคหอบหืดไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมโดยตรงเสมอไปแต่ในผู้ป่วยที่มีอาการหืดจับร่วมกับมีประวัติโรคภูมิแพ้ หรือหอบหืดในครอบครัว ก็มีโอกาสที่ผู้ป่วยจะเป็นโรคนี้
2.สิ่งกระตุ้นต่างๆ อาจเกิดสารก่อภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นบ้าน ตัวไรฝุ่น ละอองซากแมลงสาบ เกสรดอกไม้ ละอองเชื้อรา ขนหรือสะเก็ดรังแคผิวหนังสัตว์เลี้ยง อาหารบางชนิด ควันบุหรี่ ควันพิษจากสิ่งแวดล้อม หรือการเป็นหวัด
3.การออกกำลังกายอย่างหักโหม
4.การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
ผลของโรคหอบหืดในเด็ก
ในเด็กที่อาการไม่มาก จะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อชีวิตประจำวัน การใช้ยาเพื่อควบคุมอาการ อาจจะมีความจำเป็นเฉพาะเวลาที่มีอาการจับหืดเท่านั้น ส่วนในเด็กที่มีอาการของโรคหอบหืดที่มีอาการที่รุนแรงและเป็นบ่อยๆจะมีผลกระทบต่ออารมณ์จิตใจ การเรียน การดำรงชีวิตประจำวันมาก อาจต้องขาดเรียนล่อยๆ ทำให้กลัวเรียนไม่ทันเพื่อนๆ อาจถูกห้ามเล่นกีฬาหรืองดกิจกรรมบางอย่าง อาจทำให้ขาดความมั่นใจในตัวเอง
คุณหมอเส็งได้แนะนำผลิตภัณฑ์ที่ทานได้คือ
*เครื่องดื่มสตาร์ไลฟ์ 111 ครั้งละ 30 cc เช้า-เย็น
*ขมิ้นชันครั้งละ 3เม็ด เช้า-เย็น
ถ้าเป็นชนิดนํ้าครั้งละครึ่งขวด เช้า-เย็น
*ยาหอมนํ้า ครั้งละ ครึ่งขวด เช้า-เย็น